ในปัจจุบันครอบครัวยุคใหม่นิยมมีลูกเพียงคนเดียว เพราะอยากที่จะทุ่มเทความรักและความห่วงใยให้กับลูกอย่างเต็มที่ ด้วยการเน้นให้ลูกมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายเพราะไม่อยากให้
ลูกต้องลำบาก โดยพ่อแม่มีหน้าที่หาเงินให้ลูกใช้ คอยดูแลทุกเรื่อง เพื่อให้ลูกตั้งใจเรียนเพียงอย่างเดียว จึงกลายเป็นว่าเด็กหลายคนเคยชินกับการได้รับจากพ่อแม่ฝ่ายเดียว จนไม่
สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตัดสินใจเองไม่เป็น และไม่มั่นใจในตนเอง เมื่อโตขึ้นก็กลายเป็นคนรักสบาย ไม่รู้จักการขวนขวาย ดิ้ นร น ซึ่งปัญหาลักษณะนี้มักพบในครอบครัวที่มีฐานะดี ที่
พ่อแม่มีความพร้อมในการสนับสนุนให้ลูกทุกด้าน ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกรู้จักพึ่งพาตัวเองได้ จึงควรส่งเสริมให้ลูกได้รู้จักช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่ยังเล็กเพื่อให้เขาสามารถ
ดำรงชีวิตด้วยตัวเองต่อไปได้ในวันที่ไม่มีพ่อแม่อยู่เคียงข้าง
1. สอนให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก
โดยเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เก็บของเล่นเข้าที่เมื่อเล่นเสร็จ ถอ ดเสื้ อผ้าที่ใส่แล้วลงตะกร้า เดินเอาจานไปเก็บเมื่อกินเสร็จ โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยส่งเสริมและดูแลใกล้ ๆ
เมื่อลูกทำได้ก็ควรชื่นชม เพื่อเป็นแรงเสริมให้เด็กอยากช่วยเหลือตัวเองต่อไป
2. มอบหมายงานให้ลูกทำ
เพื่อฝึกความรับผิดชอบ เช่น ในเด็กเล็กวัย 1- 3 ขวบ ที่เริ่มเข้าใจคำสั่งง่าย ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจสอนให้เขาถือผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ใช้แล้วไปทิ้งขยะทุกครั้ง เมื่อลูกได้รับคำสั่งซ้ำ ๆ เดิม ๆ
ก็จะเกิดความคุ้นชิน ทำให้ครั้งต่อ ๆ ไป เมื่อถ อ ดผ้าอ้ อ มสำเร็จรูปออก ลูกก็จะถือไปทิ้งขยะเองโดยไม่ต้องมีใครบอก และเมื่อโตขึ้นก็อาจจะมอบหมายให้ทำอย่างอื่นที่ยากขึ้นต่อไป
การที่เด็กได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาตามธรรมชาติและวัยของเด็กจะเป็นแรงกร ะตุ้ นที่ดี ทำให้เขาเกิดความมั่นใจต่อตนเอง มีความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และมีกำลังใจในการทำตนเอง
ให้มีประโยชน์ต่อไป
3. ฝึกให้ลูกรู้จักการทำงานอย่างมีระบบ
โดยให้ลูกทำงานทีละอย่างด้วยความตั้งใจ และคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิดพร้อมให้คำแนะนำ ที่สำคัญไม่ควรสั่งงานอื่นแทรก เพราะจะทำให้เด็กเกิดความสับสนและ
จัดลำดับความสำคัญของงานไม่เป็น
4. คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกทำสิ่งต่าง ๆ ตามความสามารถและความสนใจของเด็ก
โดยเฉพาะเด็กในวัย 2 – 6 ขวบ ที่เริ่มอยากเรียนรู้ สำรวจ และทดลองทำอะไรด้วยตนเอง หากลูกขอช่วยล้างจาน ขอช่วยทำสิ่งต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้เขาได้ลองทำเพื่อให้ลูกได้
พัฒนาศักยภาพของตัวเอง มีความมั่นใจในตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่เป็นการพึ่งพาตนเองได้
5. ไม่ควรใช้คำพูดในเชิงลบเพื่อกระตุ้นให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง
เช่น “แค่นี้เองทำไมทำไม่ได้” หรือ “คนอื่นยังทำได้เลย” เพราะจะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง ควรมีการเสริมแรงด้วยคำพูดในเชิงบวก เช่น “ลูกต้องทำได้แน่ ๆ คนเก่ง” จะเป็นการสร้าง
แรงจูงใจให้เด็กเป็นอย่างดี การพัฒนาความสามารถในการพึ่งตนเองให้กับเด็กเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต ซึ่งควรได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง
และเหมาะสมเพื่อให้เด็กสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักทำประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้
ขอบคุณที่มา : t r u e p l o o k p a n y a