เด็กที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเองมักไม่กล้าเผชิญกับสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ หรือทำสิ่งใดๆ ที่ท้าทาย เพราะกลัวความล้มเหลวหรือกลัวทำให้คนอื่นผิดหวัง สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวถ่วงในการประสบ
ความสำเร็จในอนาคตของลูกต่อไปศั ต รูของความเชื่อมั่นคือความท้อใจและความกลัว ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะคอยช่วยเสริมแรงและให้กำลังใจลูกสามารถก้าวผ่านสิ่งที่
ยากๆ ในอนาคตได้ ซึ่ง นาตาเรีย วอเธอร์ ได้เขียนแนะนำไว้มี 17 วิธีดังนี้
1. ให้ลูกฝึกแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกเสมอ ลูกจะขาดทักษะในการพัฒนาด้านความเชื่อมั่นในการคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง เมื่อผู้ปกครองคอยช่วยเหลือตลอดเวลาลูกจะขาดวิธีรู้จักคิด
แก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองจะหมดไป นั่นหมายความว่า ยอมให้ลูกได้เกรด B หรือ C บ้างแทนที่จะได้เกรด Aตลอดในขณะที่ลูกกำลังเรียนรู้ในการแก้ปัญหาในการทำงาน
2. ชื่นชมกับความพย ายามของลูก ไม่ว่าลูกจะแพ้หรือชนะ
เมื่อเราโตมากขึ้นเราจะพบว่าระหว่างการเดินทางมีค่ามากกว่าจุดหมายปลายทาง เมื่อลูกตั้งเ ป้ าหม า ยเพื่อที่จะชนะในการทำกิจกรรมบางอย่าง แต่ต้องสะดุดล้มหรือพลาดพลั้งไม่ไปถึง
เส้นชัย ให้เราให้กำลังใจกับความพย ายามของลูกนั้น อย่าทำให้ลูกรู้สึกอายเมื่อเขากำลังพย ายาม ผลดีในระยะยาวคือลูกจะเรียนรู้ว่าความพย ายามช่วยสร้างความมั่นใจได้อย่างมากทีเดียว
3. กร ะตุ้ นความอยากรู้อยากเห็น
การตั้งคำถามที่ไม่จบไม่สิ้น อาจทำให้ลูกรู้สึกเหนื่อยและเบื่อหน่าย แต่ความจริงแล้วไม่ควรเป็นอย่างนั้น ผู้ปกครองควรตั้งคำถามเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เพื่อลูกจะเรียนรู้
ว่ามี หลายสิ่งหลายอย่างที่เรามองไม่เห็นในโลกนี้อีกมากมายที่เรายังไม่ได้เรียนรู้ สิ่งเหล่านี้จะกร ะตุ้ นให้ลูกมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น เด็กที่มาจากครอบครัวที่พ่อแม่ตั้งคำถาม
ให้เสมอๆจะเรียนรู้ได้เร็วและดีกว่าเด็กที่พ่อแม่หาคำตอบให้ตลอดเวลา
4. ฝึกการให้กำลังใจเพื่อสร้างความสามารถ
ควรให้กำลังใจและเสริมแรงให้ลูกทำในสิ่งที่ลูกสนใจ เพราะจะทำให้ลูกไม่รู้สึกกดดันมมากจนเกินไป ฮาโมนี ชู นักเปียโนระดับโลกบอกในรายการทอล์กโชว์ของเอลเลน ว่า เธอฝึกเล่น
เปียโน ตั้งแต่ 3 ขวบ และเล่นได้ดีเพราะได้รับกำลังใจจากครอบครัว การฝึกความพย ายามจะสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองตามมา
5. ให้ลูกลองสิ่งท้าทายใหม่ๆ
แสดงให้ลูกเห็นเ ป้ าหม า ยที่เป็นความสำเร็จเล็กๆ เพื่อไปสู่ความสำเร็จของเ ป้ าหม า ยใหญ่ๆ เช่น ขี่จักรยานโดยไม่ใช้ล้อเล็กฝึกการช่วยขี่ คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างความมั่นใจ
ในตัวลูกเพิ่มขึ้น ได้จากความรับผิดชอบตามวัย
6. ให้ลูกแสดงพฤติกรรมตามวัย
ไม่ควรมีความคาดหวังให้ลูกแสดงพฤติกรรมเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อลูกรู้สึกว่าต้องแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและถูกต้องตามที่พ่อแม่กำหนดเท่านั้นจะทำให้เห็นถึงมาตรฐานที่เป็นไปไม่ได้
และ จะไปลดความพย ายามที่ลูกทำอยู่ การตั้งมาตรฐานที่ลูกไม่สามารถไปถึงได้จะลดความเชื่อมั่นของลูกลง
7. เปิดประตูสู่ประสบการณ์ใหม่ๆ
ในฐานะผู้ปกครองเราควรช่วยเปิดโอกาสให้ลูกมีประสบการณ์ในโลกกว้างมากขึ้นเพื่อเปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้ การเปิดประสบการณ์ให้ลูกจะสอนให้ลูกรู้ว่า ไม่ว่าจะเจอ
ประสบการณ์ซึ่ง น่ากลัวที่เราไม่เคยเผชิญมาก่อนเราก็จะสามารถฝ่าฟันและเอาชนะมันได้
8. ฉลองความตื่นเต้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
เด็กๆ มองดูและเรียนรู้ว่าพ่อแม่รู้สึกอย่างไรต่อสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับเขา ถ้าเราตื่นเต้นกับวิธีการว่ายน้ำ หรือการพูดภาษาใหม่ๆ เด็กๆ ก็จะรู้สึกตื่นเต้นด้วย การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ยากและหาก
ทำให้ประสบความสำเร็จ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการฉลองความสำเร็จช่วยให้ลูกโตขึ้น
9. อย่าบอกลูกเมื่อเรามีความกังวลใจกับลูก
ผู้ปกครองที่กังวลใจมักแปลความหมายได้ว่าไม่เชื่อมั่น การแสดงความมั่นใจของผู้ปกครองจะส่งผลต่อความมั่นใจของเด็กด้วย
10. หลีกเลี่ยงการซิกแซก
หรือมีข้อยกเว้นให้ลูกเสมอ การให้สิทธิพิเศษทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่น
11. ไม่วิพากษ์วิจารณ์การแสดงออกของลูก
ไม่มีสิ่งไหนที่ทำให้ลูกท้อใจเท่ากับการวิพากษ์วิจารณ์ลูกในความพย ายามของเขา การให้คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะสามารถทำได้บ้าง แต่อย่าบอกว่าลูกทำกิจกรรมนี้ได้แย่จริงๆ
ถ้าลูกกลัว ที่จะล้มเหลวเพราะกังวลว่าจะทำให้เราโกรธหรือผิดหวัง ลูกจะไม่กล้าทำสิ่งใหม่ การที่พ่อแม่วิพากษ์วิจารณ์ลูกบ่อยๆ จะทำให้ลูกรู้สึกหมดคุณค่าในตัวเองและหมดแรงจูงใจด้วย
12. ทำความล้มเหลวให้เป็นเกาะที่สร้างฐานการเรียนรู้
การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดช่วยสร้างความมั่นใจ แต่นั่นจะเกิดขึ้นได้เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทำข้อผิดพลาดเป็นโอกาสที่จะเรียนรู้เติบโตและก้าวไป อย่าปกป้องลูกมากเกินไป ยอมให้ลูก
ล้มเหลวบ้าง บางครั้งบางคราวเพื่อช่วยให้ลูกเกิดความเข้าใจ และมีการวางแผนที่ดีขึ้นในครั้งหน้า คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้จากข้อผิดพลาด
13. สอนลูกว่าหากจะทำให้สำเร็จต้องรู้อะไรบ้าง
คุณพ่อคุณแม่เป็นฮีโร่ในใจของเด็กๆจนกระทั่งลูกเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ใช้โอกาสนั้นสอนลูกให้รู้จักวิธีการคิด การแสดงและการพูด เป็นตัวอย่างและแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก การที่ลูกเฝ้าดู
ความ สำเร็จของเราแสดงให้เห็นว่าเขาสามารถประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน
14. ชมเชยในความกล้าหาญเมื่อลูกเริ่มลองสิ่งใหม่
ไม่ว่าจะเป็นการเข้าทีมบาสเกตบอลหรือการลองเล่นโรลเลอร์สเก็ต ผู้ปกครองควรที่จะชมและให้กำลังใจเมื่อลูกทำสิ่งใหม่ๆ โดยพูดคำชมง่ายๆ เช่นเก่งมากที่กล้าลองสิ่งใหม่ๆ ความ
สบายมาจากการที่เราติดยึดกับสิ่งเก่าๆ แต่ความกล้าหาญมาจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเดิม
15. ให้กำลังใจลูกเมื่อลูกเผชิญความทุกข์ยากลำบาก
ในชีวิตนั้นไม่มีความยุติธรรมและไม่มีอะไรที่ง่ายเสมอไปซึ่งลูกต้องเรียนรู้เข้าสักวันใดวันหนึ่ง เมื่อเราเผชิญกับความยากลำบาก คุณพ่อคุณแม่ควรชี้ให้เห็นว่าเมื่อเราทนต่อความยาก
ลำยากได้จะช่วยสร้างให้เราปรับตัวในการรู้จักยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกฟังว่าทุกถนนสู่ความสำเร็จจะต้องเผชิญกับขวากหนามบ้างอะไรบ้าง
16. คุณพ่อคุณแม่เสนอตัวที่จะเข้าช่วยเหลือและสนุบสนุนแต่ต้องไม่มากจนเกินไป
การให้ความช่วยเหลือที่มากเกินไปและเร็วเกินไปจะลดความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของลูก ควรให้ลูกช่วยเหลือตัวเองก่อนเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ลูกมากขึ้น
17. เป็นผู้ปกครองแบบเข้าใจลูก
ไม่บังคับหรือเข้มงวดจนเกินไป หากเราเข็มงวดกับลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกขาดความมั่นใจและลดความเชื่อมั่นลง การทำตามคำสั่งตลอดเวลาจะทำให้ลูกขาดความกล้าการสร้างลูก
ให้มีความเขื่อมั่นจะทำให้ลูกเป็นคนสร้างสรรค์และกล้าพูดคำว่า “ไม่ได้” ต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้องเช่นกล้าปฏิเสธต่อผู้ที่มาหยิบยื่นสิ่งเ ส พติ ดต่างๆให้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องยอมให้
ลูกรู้จักลองผิดลองถูกเพื่อสร้างลูกให้เป็นคนดีและคนเก่งในอนาคต เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัว
ขอบคุณที่มา : m g r o n l i n e.c o m/ ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ