ถ้าไม่มีเงินให้พ่อแม่ เราจะกลายเป็นคนอกตัญญูไหม
เชื่อว่าประโยคข้างต้นเป็นคำถามที่ติดอยู่ในใจใครหลายคน โดยเฉพาะคนวัยเริ่มต้นทำงานในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงลิ่วสวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือน้อยลง
บางคนอาจจะเอาตัวรอดเลี้ยงดูตัวเองได้สบายๆ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องรัดเข็มขัดให้แน่นหรือใช้ชีวิตเข้าเนื้อพอสมควร ปัญหาของคนรุ่นใหม่หลายคนที่เริ่มทำงานได้ไม่นาน
ไม่เพียงแค่จัดการเงินเลี้ยงดูตัวเองให้อยู่รอดในแต่ละวัน แต่ยังต้องแบ่งให้ครอบครัวส่วนหนึ่ง ด้วยค่านิยมที่ปลูกฝังกันมายาวนานว่า ‘ให้เงินพ่อแม่ = เด็กกตัญญู’ แม้ว่าถ้าให้เงิ น
ไปแล้ว พวกเขาอาจจะใช้ชีวิตลำบากมากกว่าเดิม แต่ถ้าไม่ให้ก็อาจจะโดนสังคมมองว่าเป็น ‘เด็กอกตัญญู’ แนวคิดดังกล่าวเริ่มทำให้เราตั้งคำถามในใจว่า หากเราไม่มีเงิ นมากพอ
ที่จะให้พ่อแม่ใช้จ่ายอย่างสุขสบาย หรือเราไม่ให้เงินพวกท่านเพราะรู้สึกยังไม่พร้อมทางการเงิ น ท้ายที่สุดแล้วเราจะกลายเป็นคนไม่ดีในสายตาคนรอบตัวหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity
ขอชวนไปหาคำตอบเหล่านี้พร้อมกัน
กตัญญูกตเวทีคืออะไร
อ้างอิงจากวารสารมานุษยวิทย าศา สน า (Journal of Religious Anthropology : JORA) อธิบายความหมายของคำว่า ‘กตัญญูกตเวที’ คือ ผู้ที่รู้ระลึกคุณของผู้มีพระคุณและทำคุณ
ประโยชน์ตอบแทน โดยความกตัญญูในสังคมไทยมักมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้
1) การทำความดีเพื่อหวังผลประโยชน์ คือการตอบแทนคนที่ช่วยเหลือเรา ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการตั้งนิยามในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต สังเกตได้จากค่านิยมการมีลูกสมัยก่อนที่ว่า ‘มีลูก
เพื่อให้พวกเขาเลี้ยงดูตอนแก่’
2) การทำความดีด้วยโดยไม่หวังผลตอบแทน ลักษณะนี้สอดคล้องกับคำว่า ‘บุพการี’ ในพุท ธศ า สน า แปลว่า ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลประโยชน์ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมี
ภาพจำความกตัญญูกตเวทีกับรูปแบบแรกที่ต้องตอบแทนผู้ที่ช่วยเหลือเรา แน่นอนว่าการตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีพระคุณเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ไม่ใช่การตีกรอบผูกมัดลูกว่าต้องตอบแทนด้วย
เงิ นถึงจะเป็นคนดี ซึ่งความเป็นจริงการตอบแทนสามารถทำได้หลายวิธี เช่น แบ่งเบาภาระพ่อแม่ไม่ให้พวกท่านเหนื่อยใจ อย่างการช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ ในสิ่งที่เราทำได้ หรือการแสดง
ความรักต่อพวกท่าน ก็นับว่าเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีได้เช่นเดียวกัน
สวัสดิการผู้สูงอายุไทยดีไหม
จากประโยคสมัยก่อนอย่าง ‘มีลูกให้พวกเขาเลี้ยงดูตอนแก่’ หากมองอีกมุมก็น่าคิดต่อว่า ถ้าไม่มีลูก เราก็จะใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายลำบากใช่ไหม เพราะไม่มีใครเลี้ยงดูหรือพาไปรั กษ ายาม
เ จ็ บไ ข้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นหน้าที่ของ ‘สวัสดิการผู้สูงอายุ’ ที่ต้องจัดสรรบริการและเงิ นบำนาญที่ครอบคลุมการใช้ชีวิตในระยะยาว หากดูสวัสดิการผู้สูงอายุไทยที่สำคัญคือ เบี้ยยังชีพตั้งแต่
600 – 1,000 บาท/คน/เดือน หรือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาด้านอ าหา รและเครื่องนุ่งห่มสามารถขอรับเงินช่วยเหลือไม่เกิน 3,000 บาท/คน ซึ่งขอปีละไม่เกิน 3 ครั้ง รวมถึงสิทธิด้าน
การแพทย์ สามารถเข้ารับบริการดูแลสุ ขภา พต่างๆ ผ่านช่องทางใกล้บ้าน เช่น คลินิก หรือศูนย์บริการสาธารณสุข ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย เคยทำวิจัยว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 – 6,000 บาท/คน/เดือน เมื่อเทียบกับเบี้ยยังชีพที่ได้รับก็นับว่าไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในทุกวัน รวมถึงปัญหา
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีเงินออมไม่พอใช้หลังเกษียณ และยังต้องพึ่งพาเงินบุตรเป็นสัดส่วนมาก ประเด็นเหล่านี้สะท้อนถึงคุณภาพของรัฐสวัสดิการไทยยังไม่มั่นคงพอที่คนจะฝากผีฝากไข้
การใช้ชีวิตในระยะยาวได้มากเท่าไหร่นัก
สวัสดิการต่างประเทศเหมือนบ้านเราไหม
อีกหนึ่งคำถามคาใจเวลาดูหนังต่างประเทศแถบยุโรป ทำไมพวกเขาไม่ค่อยพูดถึงการให้เงินพ่อแม่บ้างเลย ซึ่งก็ย้อนกลับไปที่รัฐสวัสดิการในบ้านเขา ที่จัดสรรสวัสดิการต่างๆ ครอบคลุม
ในระยะยาว จนลูกหลานไม่ต้องกังวลใจเรื่องผู้สูงอายุ เช่น ประเทศสวีเดนที่ให้เงินบำนาญเฉลี่ย 45,000 บาท/เดือน/คน รัฐบาลจัดหาที่อยู่อาศัยและคนดูแลให้หากผู้สูงอายุอยู่คนเดียว
รวมถึงครอบครัวไหนต้องดูแลคนชราที่บ้านก็มีเงินช่วยเหลือให้ทันที ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้รับบำนาญเริ่มต้นประมาณ 25,000 บาท/คน/เดือน มีพย าบา ลดูแลส่วนบุคคลและคนดูแลบ้าน
ให้หากผู้สูงอายุไม่สามารถดูแลตนเอง รวมถึงมีบริการทางจิตวิทยาให้คำปรึกษาและคำแนะนำผู้สูงอายุอีกด้วย สำหรับบ้านเราต้องยอมรับว่า รัฐสวัสดิการในผู้สูงอายุยังไม่ครอบคลุมการใช้
ชีวิตระยะยาว ทั้งเบี้ยเลี้ยงที่ไม่พอกิน การเดินทางเข้าถึงการบริการต่างๆ ยังยากลำบาก และข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีที่เข้าถึงไม่ได้ทุกคน จึงไม่แปลกใจที่ผู้ใหญ่จะฝากความหวังให้ลูกหลาน
ช่วยเลี้ยงดูยามชรามากกว่าการพึ่งพารัฐสวัสดิการที่ไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต รวมทั้งยังสร้างความกดดันให้คนรุ่นหลังแบบไม่รู้ตัว หากไม่มีเงินให้พ่อแม่เหมือนคนอื่นก็อาจจะกลายเป็น
คนไม่ดีในสังคมไปโดยปริยาย
ขอบคุณที่มา : urbancreature