
การอบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมเหมาะสมกับการดุลูกเป็นของคู่กัน เพราะที่คุณพ่อคุณแม่ดุ ก็เพื่อให้ลูกเกิดการเรียนรู้และแก้ไข ดุเพื่อให้ลูกเข้าใจว่าไม่ควรทำความผิดซ้ำอีก
แต่การดุหรือตำหนิลูกไม่ถูกวิธี จะส่งผลให้ลูกสูญเสียความเชื่อมั่นและไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง อีกทั้งยังลดคุณภาพความสัมพันธ์ภายใน ครอบครัวอีกด้วย ดังนั้นเมื่อคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องดุ
สั่งสอนหรือตักเตือนลูกก็ต้องมีวิธีทำอย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกเชื่อฟัง และไม่ ทำ ร้ า ย จิ ต ใ จ และความรู้สึกของลูก
1. อย่าดุลูกขณะที่กำลังหงุดหงิด
ลูกจะ รู้ สึ ก แ ย่ กับความหงุดหงิดและอารมณ์โกรธของคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นหากรู้สึกหงุดหงิดควรบอกกับลูกว่า “ตอนนี้แม่หงุดหงิดมาก เดี๋ยวแม่จะไปทำอย่างอื่นก่อน หายโกรธแล้ว
แม่จะมาคุยเรื่องนี้กับหนูอีกที” นอกจากลูกจะไม่ต้องรับอารมณ์ของคุณแม่แล้ว ยังได้เรียนรู้วิธีการจัดการกับความโกรธอีกด้วย
2. ตำหนิที่การกระทำ ไม่ใช่ที่ตัวลูก
คุณพ่อคุณแม่ควรตำหนิที่การกระทำของลูก ไม่ใช่ตำหนิที่ตัวลูก ยกตัวอย่างเช่น “แม่ไม่ชอบที่ลูกแกล้งน้อง” หรือ “แม่ไม่ชอบที่ลูกพูด คำ ห ย า บ” ทำให้ลูกรับรู้ว่า การกระทำนี้คุณพ่อ
คุณแม่ไม่ชอบ ไม่ยอมรับ และจะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นในทางกลับกัน หากคุณพ่อคุณแม่ตำหนิที่ตัวลูกโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น “ทำไมเป็นเด็กเกเรแบบนี้” หรือ “ลู ก แ ย่ มากที่พูดจาแบบนี้”
จะส่งผลให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่รักของพ่อแม่ เป็นเด็กไม่ดี ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ท้อแท้ สูญเสียความมั่นใจ และไม่อยากปรับปรุงตัวเองต่อไป
3. ไม่ดุลูกต่อหน้าคนอื่น
เพราะจะทำให้ลูกเสียหน้า ขาดความมั่นใจ รู้สึกอาย และรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ให้เกียรติ นอกจากนี้ยังทำให้ลูกรู้สึกว่า คำสอนของคุณพ่อคุณแม่ไม่มีความหมาย เพราะลูก จะไม่เข้าใจและไม่รับฟัง
ในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ พ ย า ย า ม สอน แม้ว่าจะเป็นคำสอนที่ดีขนาดไหนก็ตาม
4. หลังจากดุแล้ว บอกสิ่งที่อยากให้ลูกทำ
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกคนโตลงมือตีน้อง แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะบอกกับลูกว่า ห้ามตีน้อง ลองบอกทางแก้ปัญหาให้ลูก เช่น “ลูกไม่จำเป็นต้องตีน้อง ต่อไปนี้ถ้าน้องทำอะไร ให้หนูไม่พอใจ
ให้มาบอกแม่” เพราะการห้ามลูกโดยไม่บอกวิธีการแก้ปัญหา เมื่อลูกไม่พอใจน้อง ก็จะตีน้องอีก
5. รับฟังเหตุผลและถามความคิดเห็นในมุมมองของลูก
อย่ารีบตัดสินหรือตำหนิลูกโดยที่ไม่เปิดใจรับฟังคำอธิบายหรือเหตุผลของลูก เพราะจะทำให้ลูกต่อต้านและไม่อยากอธิบายอะไรให้คุณฟังอีก แต่ควรใช้วิธีพูดคุย ถามลูกว่าถ้าเกิดทำผิดซ้ำ
จะให้มีวิธีการตักเตือนหรือลงโทษอย่างไร เพื่อให้ลูกคิดถึงผลเสีย วิธีแก้ไข และรับผิดชอบในความผิดของตัวเอง
ขอบคุณที่มา :T h.t h e a s i a n p a r e n t