
“คนเก่ง” มักมีทางเลือกที่มากกว่าเสมอ ถ้าไม่ใช่เพราะมีบริษัทอื่นที่ดีกว่ามาดึงตัวลูกน้องไป“หัวหน้า” ที่ไม่ได้ใจลูกน้องนี่แหละ
จะทำให้คนเก่งอยู่ได้ไม่นานและตัดสินใจลาออกจากองค์กรเร็วขึ้น…ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
มอบงานให้คนเก่งทำเยอะกว่า
ทั้งๆ ที่ตำแหน่งงานและเงินเดือนไม่ได้หนีกันสักเท่าไหร่ แต่หัวหน้ากลับใช้งานคนเก่งมากกว่าเพียงเพราะคิดว่าเขาทำงาน
ออกมาดีและไว้วางใจได้ แต่หากหัวหน้าทำแบบนี้บ่อยๆแถมยังลืมที่จะโปรโมตคนเก่งหรือมีรางวัลพิเศษให้ก็คงทำให้
ลูกน้องคนเก่งรู้สึกท้อแท้ไม่น้อย มากไปกว่านั้นคือรู้สึกว่าอยู่ไปก็เหนื่อยเปล่า
ประเมินผลงานออกมาดี “พอกัน”
เมื่อเข้าสู่ช่วงประเมินผลงาน หากหัวหน้าประเมินลูกน้องให้ได้ดี “พอกัน”แทบจะทุกคน อาจจะด้วยความเกรงใจหรือเหตุผลอะไร
ก็ตามแต่เมื่อความยุติธรรมไม่บังเกิด ค้านกับผลงานที่ออกมาแบบนี้ลูกน้องเก่งๆ ก็จะหมดไฟ เพราะคงมองไม่เห็นลู่ทางที่จะก้าวหน้า
รับชอบ ไม่รับผิด
หลายคนคงไม่แฮปปี้กับหัวหน้าที่มักขโมยเครดิตผลงานของลูกน้องเมื่องานได้รับคำชมจากเจ้านายมา หัวหน้ากลับบอกว่า
เป็นผลงานตัวเองแต่ถ้างานออกมาไม่น่าพอใจเมื่อไหร่ หัวหน้าก็จะโบ้ยความผิดมาที่ลูกน้องทันทีแบบนี้ไม่ได้ใจลูกน้องแน่นอน
แล้วคนเก่งที่ไหนจะอยากทำงานด้วย..ว่ามั้ย
ไม่เคย Fight เพื่อลูกน้องเลย
คุณสมบัติสำคัญที่ทำให้หัวหน้าเป็นที่รักและได้ใจลูกน้องนั่นก็คือการทำเพื่อลูกน้องหรือการปกป้องลูกน้องโดยเฉพาะเวลามีปัญหา
หัวหน้าก็ควรจะออกหน้ารับแทนลูกน้องแต่ถ้าหัวหน้าคนไหนไม่เคย Fight เพื่อลูกน้องเลย ก็คงไม่มีลูกน้องคนไหนอยากทำงานด้วย
มีแต่ติ ไม่เคยชม
แม้จะทำงานเก่งแต่ก็ต้องการความใส่ใจและการยอมรับจากหัวหน้าของตัวเองถ้าทำงานดีแต่ไม่มีชม ทำงาน แ ย่ ติอย่างเดียวแบบนี้
อย่าว่าแต่คนเก่งอยู่ด้วยไม่ได้เลย พนักงานธรรมดาก็ทนอยู่ไม่ได้เช่นกันหัวหน้าที่ดีย่อมอยากได้ลูกน้องที่เก่งๆไว้ร่วมงานแต่บางครั้ง
การกระทำของหัวหน้าโดยไม่ทันได้ฉุกคิดอาจเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้องคนเก่งตัดสินใจลาออกเร็วขึ้นนั่นเอง
ขอบคุณที่มา : w e a l t h m e u p