ทำไมลูกน้องไม่เคารพ ไม่เชื่อฟัง ?
ปัญหาเรื่องลูกน้องไม่เคารพ ไม่เชื่อฟัง หรือไม่เข้าใจหัวหน้า มาจากต้นตอปัญหาเรื่องของการสื่อสา รระหว่างทีม หากลูกน้องไม่พร้อมที่จะพูดคุยแบบตรงไปตรงมา
ให้พิจารณาจากพฤติกรรมของลูกน้อง เช่นจากการใช้อารมณ์ หรือจากคำพูดในการสื่อสา ร และดำเนินการแก้ไขตามความเป็นจริงปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาโลกแตก
ของทุกที่ เพราะอย่าว่าแต่ในโลกธุรกิจเลย ในสังคมทั่วไปก็มีปัญหาของคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าที่ไม่เข้าใจกันอยู่เสมออยู่แล้ว สิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญกว่าในการแก้ปัญหา
ก็คือการดู ‘เจตนา’ ว่าการไม่เคารพและไม่เชื่อฟัง มาจากเจตนาในการต่อต้าน หรือเป็นแค่ผลเสียของการมีความคิดที่หลากหลายในองค์กร
ลองพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้ดูครับ
เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ : ไม่ว่าลูกน้องจะเสนอไอเดียอะไรมาก็ไม่เคยรับฟัง กุมอำนาจไว้ที่ตัวเองคนเดียว ทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีหน้าที่ทำตามคำสั่งเท่านั้น
ขาดความน่าเชื่อถือ :เช่น ไม่ทำตามคำพูด ไม่ตรงต่อเวลา ไม่มีความมั่นใจ บางอย่างอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็มีส่วนทำให้ภาพลักษณ์ของหัวหน้าจาดความน่าเชื่อถือได้เช่นกัน
ขาดการปฏิสัมพันธ์ที่ดี : มีการติดต่อกันเฉพาะเรื่องงาน ขาดการสื่อสารที่ดี ทำให้บางครั้งเกิดความเข้าใจผิดกัน หรือ
ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล : เมื่อลูกน้องทำพลาดก็แสดงอาการโมโหหงุดหงิด รวมไปถึงใช้ถ้อยคำรุนแรงหรือหยาบคาย
ไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน : เช่น ตำหนิความผิดพลาดต่อหน้าผู้อื่น ไม่เคยฟังความคิดเห็นหรือไอเดียจากพวกเขา
ไม่เคยใส่ใจเรื่องส่วนตัว : เพราะมุ่งแต่ทำงานให้สำเร็จเพียงอย่างเดียว แต่เคยสนใจหรือเอาใจใส่ความรู้สึกของผู้ร่วมงานคนอื่นเลย
ไม่รู้จักจุดแข็ง-จุดอ่อนของคนในทีม : ทำให้ไม่สามารถดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาใช้ได้เต็มประสิทธิภาพหรือใช้คนไม่เหมาะสมกับงาน
ไม่เคยขอโทษหรือขอบคุณ : เช่น เมื่อสั่งงานผิดพลาดก็ไม่เคยขอโทษ ซ้ำร้ า ยอาจจะโยนความผิดนั้นไปให้ลูกน้อง รวมไปถึงไม่เคยรู้สึกขอบคุณผู้ร่วมงานที่ช่วยกันทำให้งานสำเร็จ
ลูกน้องไม่เคารพ ไม่เชื่อฟัง จะแก้อย่างไรดี ?
1. รักษาระยะห่าง
สาเหตุก็คือระหว่างคุณกับลูกน้องมีความสนิทสนมกันเกินไป เช่น รู้เรื่องส่วนตัวกันและกัน ไปสังสรรค์ด้วยกันบ่อย ๆ หลังเลิกงาน หากเจอคนที่สามารถแยกแยะระหว่างเวลา
ทำงานกับเวลาส่วนตัวได้ก็ถือว่าโชคดีไปแต่ถ้าหากเป็นคนที่เห็นคุณเป็นเพื่อนเล่นตลอดเวลา ควรเริ่มรั กษ าระยะห่างกับเขาให้มากขึ้น ลดการพูดคุยเรื่องส่วนตัวให้น้อยลง
หากมีโอกาสก็ลองคุยกันตรง ๆ น่าจะเข้าใจกันมากขึ้น
2. เข้าหาคนในทีมให้มากขึ้น .
ในทางตรงกันข้ามหัวหน้าบางคนอาจจะมีระยะห่างกบลูกน้องมากเกินไป เช่น พูดคุยกันเฉพาะเรื่องงาน หรือหัวหน้าเป็นฝ่ายสั่งให้ทำตามอย่างเดียว ลองเข้าหาพวกเขา
ให้มากขึ้น โดยการชวนคุยเรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องงานหรือแสดงความเอาใจใส่คนทำงาน เช่น ลองชวนคุยเรื่องความสนใจ ความคิดเห็นต่าง ๆ ซึ่งจุดนี้อาจจะเกิดเป็น
ไอเดียใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปพัฒนางานได้อีกด้วย
3. มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ถือเป็นอีกหนึ่งสกิลที่คนเป็นผู้นำควรมีในยุคนี้ เพราะคนทำงานมีความรู้สึกนึกคิด บางวันอาจจะต้องจัดการงานเยอะหรือเจอปัญหามากมาย ที่ทำให้เกิดความกดดันหรือ
ความเครี ย ด และส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง หรือมีความจำเป็นที่จะต้องลาด้วยเหตุผลส่วนตัว ควรถามไถ่เหตุผลที่มาที่ไป ยื่นมือเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา
แทนการจับผิดหรือดุด่าว่ากล่าว
4. ลดบทบาทความสำคัญ
หากเจอลูกน้องอีโก้สูง ไม่ค่อยเชื่อฟังคำสั่ง หรือสั่งงานไปแล้วไม่ค่อยทำตาม หลังจากนี้ค่อย ๆ ลดบทบาทในทีมของเขาให้น้อยลง เช่น ไม่มอบหมายงานสำคัญ ๆ หรือ
โปรเจกต์ใหญ่ ๆ ให้ทำ แต่ให้เขารับผิดชอบงานง่าย ๆ หรืองานเล็กงานน้อยให้เขาพอมีผลงานบ้าง
5. ไม่แทรกแซงงาน
หากมอบหมายงานให้ลูกน้องทำแล้ว ก็ควรไว้ใจให้พวกเขาได้รับผิดชอบ และคุณก็คอยดูและอยู่ห่าง ๆ ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ระหว่างนี้อาจจะลองถามไถ่เป็นระยะ เผื่อพวกเขา
กำลังมีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ
6. เปิดใจรับฟังความคิดเห็น
นอกจากนี้หัวหน้าควรเปิดใจรับฟังฟีดแบ็กในการทำงาน ปัญหา หรือความคิดเห็นของพวกเขา ไม่ยึดเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่เพียงอย่างเดียวและหากมีการพูดคุยกัน
ควรปล่อยให้พวกเขาพูดให้จบก่อน ไม่ควรพูดแทรกหรือแย้งในทันที เพราะพวกเขาอาจจะมองว่าคุณปิดกั้นหรือไม่ยอมรับฟังได้ ที่สำคัญควรแสดงความเอาใจใส่หรือห่วงใย
พวกเขาจากใจจริง ไม่ว่าจะเป็นท่าทาง การแสดงออก สีหน้า น้ำเสียง และคำพูด
7. ไม่ตัดสินคนอื่น
หลายครั้งอาจจะพบว่า ผู้ที่เป็นหัวหน้ามีการวิพากษ์วิจารณ์งานของลูกน้องอย่างรุ นแร ง และบางครั้งอาจมีการใช้คำหย า บคา บ นอกจากจะทำให้ลูกน้องไม่ฟังแล้ว
อาจจะทำให้ความสัมพันธ์และบรรยากาศการทำงานแ ย่ลงไปด้วย .ซึ่งอย่าลืมว่าประสบการณ์การทำงาน มุมมอง และความคิดของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน คงจะดีกว่า
หากทำความรู้จักลักษณะนิสัยของคนในทีมและเข้าด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละคน
8. ยอมรับความผิดพลาดบ้าง
ในฐานะที่เป็นหัวหน้าก็ต้องการให้งานออกมาสมบูรณ์แบบ แต่อย่าลืมว่ามีหลายปัจจัยที่เกินการควบคุม บางครั้งคนในทีมก็มีการทำผิดพลาดกันบ้าง การดุด่าหรือกล่าวโทษ
คนรับผิดชอบอาจทำให้มุมมองที่พวกเขามีต่อเราเปลี่ยนไปและฟังเราน้อยลงคงจะดีกว่าหากหลังจากช่วยกันแก้ไขปัญหาแล้ว ตัวหัวหน้าเองก็ควรกลับมาทบทวนด้วยเช่นกัน
เช่น เราวางแผนงานมาดีหรือยัง ให้งานยากเกินไปหรือเปล่า เวลาในการทำงานน้อยเกินไปหรือไม่ พร้อมกับหาทางป้องกันไปด้วย
9. ปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียม
ไม่ว่าจะเป็นคนเก่า คนใหม่ หรือคนสนิท ในเวลางานก็ควรปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียม และให้ความยุติธรรมกับทุกคน ไม่ลำเอียงเข้าข้างใครคนใดคนหนึ่ง สามารถตักเตือน
และสั่งได้ทุกคนเหมือนกัน ที่สำคัญควรปฏิบัติแบบเดียวกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่นำเรื่องส่วนตัวของลูกน้องไปพูดต่อ
10. ให้พวกเขาตัดสินใจงานเองบ้าง
ในฐานะหัวหน้าไม่ควรกุมอำนาจทั้งหมดไว้คนเดียว ควรปล่อยให้ลูกน้องหรือคนในทีมมีอำนาจในการตัดสินใจงานเองบ้าง ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะผิดหรือถูก แม้ว่าสุดท้ายแล้ว
จะเป็นการกระทำที่ผิดพลาด ก็ควรให้กำลังใจและกันรับผิดชอบ ดีกว่าคอยคำสั่งคุณเพียงฝ่ายเดียว
11. พูดคุยด้วยเหตุผล
หลายครั้งที่ลูกน้องไม่ยอมทำตามคำสั่งเพราะไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องทำหรือจำเป็นต้องเปลี่ยนสิ่งที่ทำอยู่ ดังนั้นในการสั่งงานควรอธิบายถึงความสำคัญหรือเหตุผลที่จำเป็นต้อง
ให้พวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งด้วยจะดีกว่า
12. แสดงความเป็นผู้นำที่ดี
สาเหตุหนึ่งที่ลูกน้องไม่เชื่อฟังเพราะขาดความเชื่อมั่น เช่น เห็นว่าหัวหน้ามีประสบการณ์หรือมีอายุน้อยกว่า ดังนั้นควรให้เวลาพิสูจน์ตัวเองด้วยการทำให้พวกเขารู้สึกเชื่อมั่น
ในตัวเรามากขึ้น ด้วยการให้คำแนะนำที่ดี เป็นหัวหน้าที่พวกเขาเชื่อใจได้สามารถพูดคุยได้ทุกเรื่องหากลูกน้องไม่ให้ความเคารพ เชื่อฟัง หรือทำตามคำสั่ง ก็ไม่ควรแสดงอาการ
โ มโ หหงุดหงิดหรือด่าทอ เพราะจะยิ่งทำให้ปัญหาแ ย่ลง แต่จะดีกว่าหากแสดงออกอย่างเหมาะสม พร้อมลองนำวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ไปปรับใช้ให้เหมาะกับคนในทีม
ขอบคุณที่มา : t h a i w i n n e r