เคยสงสัยไหม…? ว่าตัวเองเรียนเก่งแค่ไหนเมื่อเทียบกับเพื่อน สวยขนาดไหนเมื่อเทียบกับเน็ตไอดอล
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยคิดว่าตัวฉันดีเลิศกว่าใครในปฐพี เราคือเพื่อนกัน!
แท้จริงแล้ว คนเรานั้นไม่เก่งเรื่องประเมินตนเองอย่างตรงไปตรงมา และบ่อยครั้งก็เผลอคิดว่าตัวเอง
มีความสามารถเกินความเป็นจริง นักวิจัยเรียกอาการนี้ว่า “ปรากฏการณ์ดันนิง-ครูเกอร์” (Dunning–Kruger Effect)
หรืออธิบายได้ง่ายๆ ว่ามันคืออาการ “ยิ่งไม่เก่ง ยิ่งมั่นใจ” ปรากฏการณ์ดันนิง-ครูเกอร์นั้น
สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ในสังคม และบางครั้ง… มันก็เกิดขึ้นกับตัวเราเอง David Dunning
และ Justin Kruger นักจิตวิทย าแห่งมหาวิทย าลัยคอร์เนล เจ้าของทฤษฎีได้กล่าวถึงอาการนี้
เป็นครั้งแรกในงานวิจัยของเขาที่ชื่อ “Unskilled And Unaware of” หรือ
แปลเป็นภาษาไทยแสบๆ ว่า “ห่ ว ยแตก แต่ยังไม่รู้ตัว” Unskilled And Unaware of
ถูกตีพิมพ์ในปี 1999 ซึ่งพวกเขาได้อธิบายว่า กลุ่มคนที่ขาดความรู้ และทักษะเฉพาะด้าน
มีโอกาสที่จะหลงระเริงไปความความเก่งกาจที่ไม่มีอยู่จริงของตนเองมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า
ผลวิจั ยนี้ไม่ได้กล่าวขึ้นลอยๆ เพราะมีการสำรวจความคิดเห็นผู้ขับขี่ชาวอเมริกัน เกี่ยวกับ
ความเชี่ยวชาญในการขับรถบนท้องถนน พบว่ามีผู้ขับขี่ถึง 88% ที่คิดว่าตนเองขับรถเก่งกว่าคนอื่นๆ
นอกจากนี้ยังมีการสำรวจความคิดเห็นของวิศวกรซอฟแวร์บริษัทหนึ่ง ปรากฎว่ามีวิศวะกรเพียง 5% ที่
ประเมินว่าตนเองอยู่ในกลุ่มผลงานดีเด่น จากผลการทดสอบที่แตกต่างกันในสองกรณีนี้ ทำให้เห็นว่า
กลุ่มคนที่มีความสามารถต่ำ มักจะประเมินว่าตนเองมีความสามารถสูงเกินจริงไปมาก เพราะพวกเขา
ขาดทักษะจนไม่สามารถตระหนักได้ว่าตนเองขาดประสิทธิภาพขนาดไหน ดังนั้น ไม่ว่าใครคนนั้น
จะมีความสามารถแ ย่แค่ไหนก็ตาม เขาก็มักจะคิดว่าตัวเองเก่งกว่าคนส่วนใหญ่อยู่ดี เหมือนที่เรา
เคยได้ยินคนพูดว่า “อย่างน้อยฉันก็ไม่แย่ที่สุดหรอกน่า!” ในขณะที่กลุ่มคนที่มีทักษะมากพอ
จะตระหนักได้ว่าความรู้นั้นไม่มีที่สิ้นสุด จึงไม่ประเมินว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดๆ เป็นพิเศษ
แต่จะคิดว่าตนเองเก่งเท่ากับคนอื่นๆ หรืออาจจะน้อยกว่าคนอื่นด้วยซ้ำ แม้ว่า การประเมินตนเองต่ำ
กว่าความจริงของเหล่าคนเก่ง จะเป็นแรงผลักดันให้พวกเขาหมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ แต่กลุ่มคน
อัจฉริยะก็มักจะต้องเผชิญกับความเ ค รี ย ดจาก “Imposter Syndrome” หรือโร คกลัวไม่เก่ง
จนทำให้ต้องรับแรงกดดันจากตัวเองตลอดเวลา สรุปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนไม่เอาไหน หรือคนเก่ง
ก็มักจะตกหลุมพรางความเชื่อผิดๆ จากความคิดของตนเอง เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มันเป็น
เรื่องของ “ตัวเอง” เราก็มักจะคาดคะเนผิดพลาดไปทั้งหมดจนน่าแปลกใจ ดังนั้น เพื่อความชัวร์…
อย่าลืมหมั่นเช็คว่าตัวเราจัดอยู่ในกลุ่มคนประเภทไหนเพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาให้ตรงจุด! อันดับแรก
ลองถามคนอื่นๆ แล้วลองคิดทบทวนดู แม้ว่าสิ่งที่ได้ยินอาจไม่ใช่สิ่งที่น่าฟังก็ตาม จากนั้น จงอย่าหยุด
ที่จะเรียนรู้ เพราะยิ่งเรามีความรู้มากเท่าไหร่ เราก็จะเห็นจุดบกพร่องของตนได้ดีขึ้นเท่านั้น คงจะเหมือน
คำที่กล่าวว่า “ความรู้ที่แท้จริง คือ การรู้ว่าตัวเองไม่รู้”
ขอบคุณที่มา : missiontothemoon