เมื่อไม่นานมานี้ได้ทบทวนชีวิตตนเอง ที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ เราเป็นลูกน้อง พอทำงานมาสักระยะ ก็ขึ้นเป็นหัวหน้าและทบทวนถึงหัวหน้าที่เรามีในชีวิต ตั้งแต่ระดับตำแหน่งเล็กๆ
จนระดับใหญ่สุดของบริษัททั้งบริษัทในไทยและบริษัทข้าม ช า ติ ของหลายๆ แห่งได้ข้อสรุปว่าหัวหน้าแบบไหน ที่เรา เพื่อนๆ และลูกน้องเราทุ่มเทใจให้ยินดีที่จะทำงานให้เต็มที่เต็มศักยภาพ
ทำให้มากกว่าที่หัวหน้าบอก และอาสาทำเพิ่ม หรือเสนอไอเดีย ต่างๆ เพิ่มเติมอีกด้วยค่ะหัวหน้าที่ดีมีลักษณะดังนี้
1. เชื่อใจลูกน้อง และมองเห็นศักยภาพ
เมื่อหัวหน้ามองว่า ลูกน้องมีศักยภาพและเชื่อใจลูกน้อง ทำให้ลูกน้องทำงานได้อย่างอิสระ และสามารถนำความคิดสร้างสรรค์ของตนมาสร้างผลงานได้อย่างเต็มที่แต่หากหัวหน้าไม่เห็น
ศักยภาพ หัวหน้าก็จะไม่ไว้ใจ คอยสั่งตามที่ตัวเอง ต้องการและไม่ให้ลูกน้องได้มีโอกาสนำเสนอความคิดเห็น
2. พูดแล้ว รั ก ษ า สัจจะ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
เราคงเคยได้ยินว่า คำพูดเป็นนายเรา เมื่อพูดออกไปแล้วให้เราทำตามสิ่งที่เราพูด ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนไปจากที่พูด นานๆ เปลี่ยนคงไม่เป็นไรแต่หากเปลี่ยนบ่อยๆ ลูกน้องจะขาด
ความเชื่อมั่น และความไว้วางใจต่อหัวหน้า และกังวลว่าทำไปเดี๋ยวหัวหน้าก็เปลี่ยนใจ ให้แก้ใหม่อีก ทำให้ลูกน้องขาดความกระตือรือร้นในการทำงานได้ค่ะ
3. มีความเห็นอกเห็นใจและใส่ใจผู้อื่น
หากลูกน้อง ประสบปัญหาชีวิต เช่น สูญเสียคนที่เป็นที่รัก หรือคนที่เขารัก ป่ ว ย หรือเขา ป่ ว ย หากหัวหน้าไม่เคยถามไถ่ด้วยความใส่ใจ เช่น เป็นอย่างไรบ้าง รู้สึกอย่างไรอยากให้พี่ช่วยอะไรบ้าง
เป็นต้น แล้วเข้ามาคุยแต่เรื่องงาน ก็อาจทำให้ลูกน้องรู้สึก ว่าหัวหน้าไม่ใส่ใจเขาในฐานะคนๆ หนึ่ง ลูกน้องก็จะหมดใจที่จะทำงานให้ค่ะ
4. กล้าตัดสินใจ
บางกรณีลูกน้องเข้ามาของคำแนะนำ หรือให้หัวหน้าตัดสินใจ หากหัวหน้าตัดสินใจไม่ได้ ก็จะทำให้ลูกน้องไม่สามารถทำงานต่อได้งานไม่คืบหน้า ลูกน้องก็จะเริ่มท้อใจและเบื่อ ว่างานไม่คืบหน้า
และงานไม่สำเร็จเสียที
5. มองภาพใหญ่ ไม่ micro-manage
หัวหน้าที่ดีควรมีความสามารถในการมองภาพใหญ่ กว่าลูกน้อง เห็นว่าสิ่งที่ทำส่งผลดีอย่างไรต่อภาพรวม และมองเห็นโอกาสในการทำสิ่งนั้นๆ ให้ใหญ่ขึ้น และไม่ micro-manage เกินไปจน
ลูกน้องต้องเอามาให้ดูทีละขั้นตอนแล้วพอเจ้านาย approve แล้วค่อยทำต่อ เพราะถ้า micro-manage เกินไป ลูกน้องจะอึดอัด และทำงานไม่เสร็จเสียที ลูกน้องจะ burn out(หมดแรงกายแรงใจ) ได้ค่ะ
6. ให้โอกาสลูกน้องได้ทำงานที่ท้าทายขึ้น
ทำให้ลูกน้องได้พัฒนาความสามารถ และทักษะเพิ่มขึ้น แทนที่จะทำแต่งานเดิมซ้ำๆ จนเบื่อ
7. มีจริยธรรม ไม่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก
โดยพื้นฐานแล้วคนเราเกิดมา เรารู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี หากหัวหน้าไม่มีจริยธรรม ลูกน้องก็จะรู้สึกอึดอัด ยิ่งถ้าลูกน้องให้คุณค่ากับเรื่องจริยธรรมและไม่อยากทำในสิ่งไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้มี
ความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ หรือหากลูกน้องทำทั้งๆ ที่ในใจไม่อยากทำ ก็จะรู้สึกอึดอัด
8. ให้โอกาสให้ลูกน้องได้เติบโต
หัวหน้าที่สนับสนุน ให้ลูกน้องเติบโต เช่น ส่งไปอบรมเพิ่ม ส่งเสริม/สนับสนุนให้เรียนเพิ่ม มอบหมายงานที่ท้าทาย/โปรเจ็คใหม่หรือโปรโมทเมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม จะทำให้ลูกน้องรู้สึกว่า
หัวหน้า หวังดีกับเขาจริงๆ เขาก็จะอยากทำงานให้ดีเลิศ เพื่อตอบแทนความปรารถนาดีของหัวหน้า
9. ชื่นชมและให้กำลังใจลูกน้อง
หากลูกน้องทำงานได้ดี/ตามที่ต้องการ การขอบคุณเขา หรือการชมในความตั้งใจของเขา ก็เป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงจิตใจให้อยากทำงานเพิ่มขึ้นและหากลูกน้องทำงานผิดพลาด/เจอปัญหา
อุปสรรค ก็ให้คำแนะนำ และกำลังใจให้เขาเดินหน้าต่อไปได้ เขาจะรู้สึกว่ามีคนที่ support เขาอยู่
10. ให้เครดิตลูกน้อง
ในการนำเสนอผลงาน ให้คนอื่นรับทราบ ก็ควรให้เครดิต และขอบคุณน้องๆ ในทีมต่อหน้าคนอื่นๆ ด้วยใจ ให้รู้ว่าทุกคนมีส่วนร่วมในผลงานที่ดีนี้เพราะหัวหน้าไม่สามารถทำงานทุกอย่างเองได้
และลูกน้องก็รับรู้ได้ว่าหัวหน้าให้เกียรติเรา เห็นคุณค่าของเราอ่านแล้วลองไปปรับใช้ดูนะคะ เราสามารถฝึก ให้มีคุณสมบัติดีๆ นี้ ไม่ว่าจะมีบทบาทเป็นหัวหน้าหรือไม่ค่ะ เพราะคุณสมบัติเหล่านี้
ถ้าเรามี ใครๆ ก็รักและอยากช่วยเหลือสนับสนุนค่ะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ สำหรับการพัฒนาตนเองนะคะเป็นกำลังใจให้ทุกท่านให้เติบโต อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จค่ะ
ขอบคุณที่มา : w o r k w i t h p a s s i o n t r a i n i n g