Home ข้อคิด เป็นหัวหน้า..จะเริ่มแบบไหน ให้ลูกน้องยอมรับและเคารพ(อยากให้หัวหน้าได้อ่าน)

เป็นหัวหน้า..จะเริ่มแบบไหน ให้ลูกน้องยอมรับและเคารพ(อยากให้หัวหน้าได้อ่าน)

10 second read
0
0
1,354

Q: ผมเพึ่งเข้ารับงานใหม่ ในตำแหน่งหัวหน้าระดับต้น ต้องคุมลูกน้อง 2-3 คน แต่ปัญหาคือ ลูกน้องไม่ชอบหน้าผมเท่าไหร่เพราะเหมือนผมเข้ามาแทนตำแหน่งที่เขาหมายตาไว้อายุผมกับลูกน้อง

ไม่ได้ต่างกันมาก เขาก็ไม่ค่อยเกรงใจเวลามีปัญหาเกิดขึ้น มักจะเข้าหาหัวหน้าที่ ตำแหน่งสูงกว่าผมแทน ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าผมคุมลูกน้องไม่ได้ ผมควรจะทำอย่างไรกับสถานการณ์แบบนี้ดีครับ

A: ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา สาเหตุที่แท้จริง คือ ลูกน้องไม่ยอมรับหัวหน้าในฐานะหัวหน้า

1. เมื่อเข้าไปคุมทีม ใหม่ๆ อย่า “กร่าง” (โอ้อวด มีอัตตา) มากเกินไปจนคนอื่นๆ ห มั่ น ไส้

ในขณะเดียวกันก็อย่า “หงอ” (กลัว ดูไม่มั่นใจ) มากเกินไปจนคนอื่นๆ ขาดความมั่นใจวางตัวธรรมดา อย่าอว ดความเก่งมากเกินไป แต่ก็อย่าถ่อมตัวจนเกินไป เดินทางสายกลาง

2. เมื่อเริ่มต้นคุมทีม จงทำให้ลูกทีม รู้สึกว่า “ตั้งแต่หัวหน้าเข้ามา ชีวิตพวกผมง่ายขึ้น”

โดยการมองหาโอกาส ที่จะช่วยเหลือสนับสนุน หรือแก้ปัญหาที่คาราคาซังมานานให้กับพวกเขา ไม่ใช่เข้ามาปุ๊บก็เริ่มจัดระเบียบ กำหนดขั้นตอนการทำงานใหม่ อย่างรัดกุมเพิ่มปริมาณของรายงาน

เพื่อให้แน่ใจ ว่าหัวหน้ารับรู้สถานการณ์ทุกอย่าง และสามารถควบคุม (Control) ทีมงานได้อย่างอยู่หมัดเพราะหากทำแบบนี้ตั้งแต่วันแรกๆ ลูกทีมจะรู้สึกว่า “ตั้งแต่หัวหน้าเข้ามา ชีวิตพวกผม

เหนื่อยขึ้น หนักขึ้นเป็นเท่าทวี” เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ต้องแปลกใจ ทำไมจึงมีการต่อต้าน

3. ลูกน้องที่ทำงานมานานกว่า ย่อมมีข้อสงสัยว่าเหตุใด คนที่มีอายุเท่ากัน ประสบการณ์เท่ากันแต่ทำงานในองค์กรมาน้อยกว่าจึงขึ้นมาเป็นหัวหน้าเขาได้

น้อยคนที่จะมองในแง่ดี หลายคนตั้งป้อมแล้วว่า “นายเก่งมาจากไหน” จากนั้นพิธีการ “ลองของ” ก็จะค่อยๆ เกิดขึ้นเพื่อทดสอบฝีมือของหัวหน้าใหม่ดังนั้น หากคุณมี ดีต้องเอาออกมาอวดบ้าง

ผมพูดกับหัวหน้าใหม่ ที่มาจากภายนอกองค์กรเสมอๆ ว่า “คุณต้องรู้จักปล่อยของบ้างถ้ามีของที่จะปล่อย” หัวหน้าหลายคนที่มาใหม่ จากภายนอกองค์กร “อมภูมิ”มากเกินไปจนลูกน้องหรือคนที่

ทำงานด้วยชักเริ่มรู้สึกไม่แน่ใจแล้วว่า “มีภูมิ” จริงหรือเปล่าในทางกลับกัน ก็ต้องหาจุดพอดีให้เจอ มี ดีต้องอวดแต่ถ้าอวดมากเกินไปกลับกลายเป็น “อวดดี” ก็ทำให้เสียได้อีก

4. ต้อง “ได้ใจ” ก่อน “ได้งาน”

เมื่อเข้าไปใหม่ๆ อย่างน้อยในช่วง 1-2 เดือนแรก อย่าเพิ่งเน้นเรื่องงาน จงใช้เวลาส่วนใหญ่ พูดคุย รับฟัง และซื้อใจลูกน้องให้ได้ก่อนสำหรับคนไทยเรื่องนี้สำคัญมาก เชื่อผมว่าคุณไม่มีทางได้งาน

หรือถ้าได้ก็ไม่ยั่งยืน หากคุณไม่ได้ใจดังนั้น ใช้เวลากับคนให้มากๆ ในระยะแรกๆ เมื่อตอบโจทย์เรื่องคนได้แล้วเดี๋ยวคนเหล่านั้นจะช่วยคุณตอบโจทย์เรื่องงานเอง

5. คุยกับหัวหน้าของคุณบ่อยๆ

ในสถานการณ์อย่างนี้ ไม่มีใครช่วยคุณได้ดีกว่า หัวหน้าโดยตรงของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากอยู่ที่นี่มานาน เขาย่อมมีบารมีแก่กล้าสามารถกำราบลูกน้องของคุณได้แน่ๆนอกจากนั้นการพูดคุย

กับหัวหน้าบ่อยๆ จะทำให้คุณรู้จักและเข้าใจ สไตล์การทำงานของหัวหน้าต่อไปคิด ทำหรือตัดสินใจอะไรจะได้ไปในทิศทาง เดียวกัน ไม่ขัดแย้งกันซึ่งหากเป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ลูกน้องจะเริ่มเกรงใจ

เพราะไม่ว่าคุณพูดอะไร นายใหญ่ก็เห็นเหมือนคุณทุกอย่าง

6. จงให้ “เกียรติ” แต่อย่าให้ “อภิสิทธิ์”

คำสองคำนี้ คนไทยแยกไม่ค่อยออก เราใช้กันมั่วปะปนไปหมด ตัวอย่างเช่น หากเรายืนต่อคิวซื้ ออาห ารกลางวันอยู่ เจ้านายเดินมาเราอนุญาตให้ท่านแทรกแถวข้างหน้าเราเพราะคิดว่านั่นเป็น

การให้เกียรติผู้ใหญ่แต่หลายคนอาจรู้สึกว่าอันที่จริงเป็นการ ให้อภิสิทธิ์มากกว่า “เกียรติกับอภิสิทธิ” แยกกันยากเอาเป็นว่าในการทำงาน ให้เกียรติคืออย่าเรียกเขามาหาให้เดินไปหาเขา

อย่าว่าเขาต่อหน้าคนอื่นให้ตำหนิเป็นการส่วนตัว อย่าสั่งงานเขาต่อหน้าคนอื่นให้สั่งเป็นการส่วนตัว เป็นต้นแต่ต้องไม่ให้อภิสิทธิคือกฎกติกาที่บังคับใช้ ต้องใช้กับทุกคน ไม่ควรเข้มงวดกับ

ลูกน้องที่เด็กๆ แต่ปล่อยปะละเลย ไม่พูดไม่เตือนสำหรับลูกน้องที่มีอาวุโสสูงกว่า เป็นต้นผมคิดว่าหากทำ 6 ข้อนี้อย่างสม่ำเสมอ สัก 2-3 เดือนแรกของการทำงาน สถานการณ์น่าจะดีขึ้นอย่างไร

ก็ตาม ในทางปฏิบัติคงเป็นไปได้ยากที่จะทำให้ทุกคน ยอมรับ และเห็นพ้องกับคุณทั้งหมด เอาเป็นว่า 6 เดือนแรก ถ้าได้ใจลูกน้องสักครึ่งและได้ใจ “หัวโจก” บางคน ก็ถือว่าใช้ได้แล้วหลังจากนั้น

ปล่อย ให้เวลาค่อยๆ ช่วยแก้สถานการณ์ให้ดีขึ้น ขอเพียงแต่คุณยังคงทำอย่างที่ผมแนะนำ ข้างต้นอย่างสม่ำเสมอต่อไป

ขอบคุณที่มา : m g r o n l i n e

Load More Related Articles
Load More By FahFah FahFah
Load More In ข้อคิด

Check Also

6 ความรักแบบผิดๆ ที่เผลอทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว (พ่อแม่ควรรู้ไว้)

“ความรัก” มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ และการเจริญเติบโตของลูก คุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมรักและต้องการม…